บล๊อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของตัวอย่างการเรียนรายวิชา 0012006 Internet and Communication in Daily Life ( อินตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ) และช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของ ภูมิสารสนเทศ ( GIS ) ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) การประยุกต์ใช้งานด้าน GIS และข้อมูลดาวเทียมที่ใช้ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ




วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

การสำรวจจากระยะไกล ( Remote Sensing )


คำว่า รีโมทเซนซิง (Remote Sensing) เป็นประโยคที่ประกอบขึ้นมาจากการรวม 2 คำ ซึ่งแยกออกได้ดังนี้ คือ Remote = ระยะไกล และ Sensing = การรับรู้ จากการรวมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน คำว่า "Remote Sensing" จึงหมายถึง "การรับรู้ระยะไกล" โดยนิยามความหมายนี้ได้กล่าวไว้ว่า "เป็นการสำรวจตรวจสอบคุณสมบัติสิ่งใดๆก็ตาม โดยที่มิได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านั้นเลย"

ดังนั้นคำว่า "Remote Sensing" จึงมีความหมายที่นิยมเรียกอย่างหนึ่งว่า การสำรวจจากระยะไกล โดยความหมายรวม รีโมทเซนซิ่ง จึงจัดเป็นวิทยาศาสตร์ และศิลปะการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ พื้นที่ หรือปรากฏการณ์จากเครื่องมือบันทึกข้อมูล โดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมาย

ทั้งนี้ อาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูลใน 3 ลักษณะ คือ
- คลื่นรังสี (Spectral)
- รูปทรงสัณฐานของวัตถุบนพื้นผิวโลก (Spatial)
- การเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา (Temporal)

ปัจจุบันข้อมูลด้านนี้ได้นำมาใช้ในการศึกษาและวิจัยอย่างแพร่หลาย เพราะให้ผลประโยชน์หลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายในการสำรวจและเก็บข้อมูลมีความถูกต้อง และรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

อย่างไรก็ตาม การรับรู้จากระยะไกลก็ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าโดยมีการประดิษฐ์ คิดค้นเครื่องมือรับสัญญาณที่มีประสิทธิภาพสูง เทคนิคที่นำมาใช้ในการแปลตีความ ก็ได้รับการพัฒนาควบคู่กันไปให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงปรากฏว่ามีการนำข้อมูลทั้งภาพถ่ายทางอากาศ และ ภาพถ่ายดาวเทียม มาใช้ประโยชน์เพื่อสำรวจหาข้อมูลและทำแผนที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น