บล๊อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของตัวอย่างการเรียนรายวิชา 0012006 Internet and Communication in Daily Life ( อินตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ) และช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของ ภูมิสารสนเทศ ( GIS ) ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) การประยุกต์ใช้งานด้าน GIS และข้อมูลดาวเทียมที่ใช้ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ




วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบพิกัดกริดแบบ UTM (Universal Transverse Mercator co-ordinate System)


พิกัดกริด UTM (Universal Transverse Marcator) เป็นระบบตารางกริดที่ใช้ช่วยในการกําหนดตําแหน่งและใช้อ้างอิงในการบอกตําแหน่งที่ นิยมใช้กับแผนที่ในกิจการทหารของประเทศ ต่าง ๆ เกือบทั่วโลกในปัจจุบัน เพราะเป็นระบบตารางกริดที่มีขนาดรูปร่างเท่ากันทุกตารางและมีวิธีการกําหนดบอกค่าพิกัดที่ง่ายและถูกต้องเป็นระบบกริดที่นําเอาเส้นโครงแผนที่แบบ Universal Transverse Mercator Projection ของ Gauss -Krueger มาใช้ดัดแปลงการถ่ายทอดรายละเอียดของพื้นผิวโลกให้รูปทรงกระบอก Mercator Projection อยู่ในตําแหน่ง Mercator Projection (แกนของรูปทรงกระบอกจะทับกับแนวเส้นอิเควเตอร์ และตั้งฉากกับแนวแกนของขั้วโลก) ประเทศไทยเราได้นําเอาเส้นโครงแผนที่แบบ UTM นี้มาใช้กับการทําแผนที่ เป็นชุด L 7017 ที่ใช้ในปัจจุบันแผนที่ระบบพิกัดกริด ที่ใช้เส้นโครงแผนที่แบบ UTM เป็นระบบเส้นโครงชนิดหนึ่งที่ใช้ผิวรูปทรงกระบอกเป็นผิวแสดงเส้นเมริเดียน (หรือเส้นลองติจูด) และเส้นละติจูดของโลก โดยใช้ทรงกระบอกตัดโลกระหว่างละติจูด 84องศาเหนือ และ 80 องศาใต้ในลักษณะแกนรูปทรงกระบอกแล้วทํามุมกับแกนโลก 90 องศารอบโลก แบ่งออกเป็น 60 โซนๆ ละ 6 องศา

โซนที่ 1 อยู่ระหว่าง 180 องศา กับ 174 องศาตะวันตก และมีลองติจูด 177 องศาตะวันตก เป็นเมริเดียนย่านกลาง (Central Meridian) มีเลขกํากับแต่ละโซนจาก 1 ถึง 60 โดย นับจากซ้าย ไปทางขวาระหว่างละติจูด 84 องศาเหนือ 80 องศาใต้ แบ่งออกเป็น 2 ช่อง ช่องละ 8 องศา ยกเว้นช่องสุดท้าย เป็น 12 องศา โดยเริ่มนับตั้งแต่ละติจูด 80 องศาใต้ ขึ้นไป ทางเหนือ ให้ช่องแรกเป็นอักษร C และช่องสุดท้ายเป็นอักษร X (ยกเว้น I และ O) จากการแบ่งตามที่กล่าวแล้วจะเห็นพื้นที่ในเขตลองติจูด 180 องศาตะวันตก ถึง 180 องศาตะวันออก และละติจูด 80 องศาใต้ ถึง 84 องศาเหนือ จะถูกแบ่งออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1,200 รูป แต่ละรูปมีขนาดกว้างยาว 6 องศา x 8 องศา จํานวน 1,140 รูป และกว้างยาว 6 องศา x 12 องศา จํานวน 60 รูป รูปสี่เหลี่ยมนี้เรียกว่า Grid Zone Designation (GZD) การเรียกชื่อ Grid Zone Designation ประเทศไทยมีพื้นที่อยู่ ระหว่างละติจูด 5 องศา 30 ลิปดา เหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดา เหนือ และลองติจูดประมาณ 97 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก ถึง 105 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก ดังนั้น ประเทศไทยจึงตกอยู?ในGZD 47N 47P 47Q 48N 48P และ 48 Q

ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System)




เป็นระบบพิกัดที่กําหนดตําแหน่งต่างๆบนพื้นโลก ด้วยวิธีการอ้างอิงบอกตําแหน่งเป็นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด (Latitude) และลองติจูด (Longtitude) ตามระยะเชิงมุมที่ห่างจากศูนย์กําเนิด (Origin) ของละติจูดและลองติจูดที่กําหนดขึ้นสําหรับศูนย์กําเนิดของละติจูด (Origin of Latitude) นั้นกําหนดขึ้นจากแนวระดับที่ตัดผ่านศูนย์กลางของโลกและตั้งฉากกับแกนหมุน เรียกแนวระนาบศูนย์กําเนิดนั้นว่า เส้นศูนย์สูตร (Equator) ซึ่งแบ่งโลกออกเป็นซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ฉะนั้นค่าระยะเชิงมุมของละติจูดจะเป็นค่าเชิงมุมที่เกิดจากมุมที่ศูนย์กลางของโลก กับแนวระดับฐานกําเนิดมุมที่เส้นศูนย์สูตรที่วัดค่าของมุมออกไปทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ค่าของมุมจะสิ้นสุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ มีค่าเชิงมุม 90 องศาพอดี ดังนั้นการใช้ค่าระยะเชิงมุมของละติจูดอ้างอิงบอกตําแหน่งต่างๆ นอกจากจะกําหนดเรียกค่าวัดเป็น องศาลิปดา และฟิลิปดา แล้วจะบอกซีกโลกเหนือหรือใต้กํากับด้วยเสมอ


ระบบพิกัด ( Coordinate System )

เป็นระบบที่สร้างขึ้นสําหรับใช้อ้างอิงในการกําหนดตําแหน่ง หรือบอกตําแหน่งพื้นโลกจากแผนที่มีลักษณะเป็นตารางโครงข่ายที่เกิดจากตัดกันของเส้น ตรงสองชุดที่ถูกกําหนดให้วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันออก- ตะวันตก ตามแนวของจุดศูนย์กําเนิด (Origin) ที่กําหนดขึ้น ค่าพิกัดที่ใช้อ้างอิงในการบอกตําแหน่งต่างๆ จะใช้ค่าของหน่วยที่นับออกจากจุดศูนย์กําเนิดเป็นระยะเชิงมุม (Degree) หรือเป็นระยะทาง (Distance) ไปทางเหนือหรือใต้และตะวันออกหรือตะวันตก ตามตําแหน้งของตําบลที่ต้องการหาค่าพิกัดที่กําหนดตําแหน่งต่างๆ จะถูกเรียกอ้างอิงเป็นตัวเลขในแนวตั้งและแนวนอนตามหน่วยวัดระยะใช้วัดสํา หรับระบบพิกัดที่ใช้อ้างอิงกําหนดตําแหน่งบนแผนที่ ที่นิยมใช้กับแผนที่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ คือ

1) ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System)

2) ระบบพิกัดกริดแบบ UTM (Universal Transverse Mercator co-ordinate System)

ขั้นตอนเบื้องต้นในการดำเนินการแปลภาพ


- ใช้องค์ประกอบของข้อมูลที่ปรากฏบนภาพในการแปลตีความ ได้แก่


สีและระดับความเข้มของสี รูปร่าง ขนาด ความสัมพันธ์กับตำแหน่งที่ตั้งและสิ่งแวดล้อม รูปแบบ

- แปลจากสิ่งที่รู้ ไปยังสิ่งที่ไม่รู้

- แปลจากสิ่งที่ง่าย ไปยังสิ่งที่ยาก

- แปลจากสิ่งที่มีขนาดใหญ่ (หยาบ) ไปยังสิ่งที่มีขนาดเล็ก (ละเอียด)

- ตรวจสอบความถูกต้อง การแปลตีความ ด้วยการออกสำรวจภาคสนาม

Tone ความเข้มจาง Color สี



Texture = ความหยาบละเอียด




ข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นในการแปลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม



- ประเภทของข้อมูลดาวเทียมและแบนด์ที่ใช้ในการผสมสี

- ตำแหน่งที่ตั้งที่ปรากฏบนภาพข้อมูลดาวเทียม

- ช่วงเวลาของวันที่บันทึกข้อมูล

- ข้อมูลเสริมประกอบอื่นๆ เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ
ภาคสนาม ปฏิทินการเกษตร และแผนที่ภูมิประเทศ เป็นต้น

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้อมูลดาวเทียมสำรวจทรัพยากร

ความหมายของภาพถ่ายดาวเทียม


ภาพถ่ายดาวเทียม คือ ภาพที่ได้จากการส่งดาวเทียมที่มีการติดตั้งเครื่องถ่ายภาพที่สามารถขยายและจำแนกความแตกต่างของสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏบนผิวโลก โดยอาศัยการสะท้อนรังสีความร้อนของสิ่งต่างๆบนผิวโลก ข้อมูลจากดาวเทียม เป็นสัญญาณตัวเลขที่ได้รับ ณ สถานีรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดิน ซึ่งกระจายอยู่ในบางประเทศทั่งโลก เมื่อสถานีรับสัญญาณภาคพื้นดินได้รับข้อมูลตัวเลขที่ส่งมาแล้ว จึงแปลงตัวเลขออกเป็นภาพอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ภาพถ่ายดาวเทียม